ประวัติอาหารใต้
เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด ลักษณะภูมิประเทศ เป็นแหลมที่ยื่น ลงไปในทะเลผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้จึงนิยมทำการประมง เพราะมีทรัพยากรในท้องทะเลมากมาย เมื่ออาศัยอยู่ชายทะเล อาชีพเกี่ยวข้องกับทะเล อาหารหลักในการดำรงชีวิตจึงเป็นอาหารทะเล อาหารส่วนใหญ่ของคนภาคใต้มักเกี่ยวข้องกับปลาและสิ่งอื่นๆจากท้องทะเลอาหารทะเลหรือปลาโดยธรรมชาติจะมีกลิ่นคาวจัด อาหารภาคใต้จึงไม่พ้นเครื่องเทศ โดยเฉพาะขมิ้นดูจะเป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้เลย เพราะช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีนัก ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้จะมีสีออกเหลือง ๆ แทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก่ทอด ก็มีขมิ้นกันทั้งสิ้น และมองในอีกด้านหนึ่งคงเป็นวัฒนธรรมการกินที่ผสมผสานกลมกลืนกันระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในภาคใต้
อาหารปักษ์ใต้มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีความเข้มข้นและเผ็ดร้อน คนใต้นิยมปรุงอาหารรสเค็มนำ ตามด้วยรสเปรี้ยวไม่ทานอาหารรสหวาน ความเผ็ดร้อนมาจากพริกขี้หนูสด พริกขี้หนูแห้ง และพริกไทยที่ใส่ในน้ำพริกแกงต่างๆ รสเค็มได้มาจากกะปิและเกลือ รสเปรี้ยวจากส้มแขก ตะลิงปลิง ระกำ มะนาว มะขามเปียก มะขามสด เป็นต้น เนื่องจากอาหารภาคใต้มีความเผ็ดจัดจ้านมาก ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคนใต้จะกินผักควบคู่กับการรับประทานข้าว เพื่อลดความเผ็ดร้อนลง ซึ่งคนภาคใต้จะเรียกผักต่างๆ เหล่านี้ว่าผักเหนาะซึ่งจะคล้ายกับภาคกลาง เช่น มะเขือต่างๆ แตงกวา ถั่วฝักยาว ถั่วพู เป็นต้น
อาหารปักษ์ใต้มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีความเข้มข้นและเผ็ดร้อน คนใต้นิยมปรุงอาหารรสเค็มนำ ตามด้วยรสเปรี้ยวไม่ทานอาหารรสหวาน ความเผ็ดร้อนมาจากพริกขี้หนูสด พริกขี้หนูแห้ง และพริกไทยที่ใส่ในน้ำพริกแกงต่างๆ รสเค็มได้มาจากกะปิและเกลือ รสเปรี้ยวจากส้มแขก ตะลิงปลิง ระกำ มะนาว มะขามเปียก มะขามสด เป็นต้น เนื่องจากอาหารภาคใต้มีความเผ็ดจัดจ้านมาก ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคนใต้จะกินผักควบคู่กับการรับประทานข้าว เพื่อลดความเผ็ดร้อนลง ซึ่งคนภาคใต้จะเรียกผักต่างๆ เหล่านี้ว่าผักเหนาะซึ่งจะคล้ายกับภาคกลาง เช่น มะเขือต่างๆ แตงกวา ถั่วฝักยาว ถั่วพู เป็นต้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น